วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เขตการค้าเสรีอาเซียน AFTA

เขตการค้าเสรีอาเซียน : AFTA

จากกำเนิด ASEAN ก่อเกิดเขตการค้าเสรีอาเซียน(ASEAN Free Trade Area) หรือ เรียกย่อว่า AFTA เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2536 โดยมีเป้าหมายคือ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของประเทศสมาชิก เพิ่มอำนาจต่อรองของประเทศสมาชิกในการเจรจาระหว่างประเทศ ดึงดูดการลงทุน และเพื่อลดภาษีศุลกากรในกลุ่มสมาชิกให้เหลือน้อยที่สุดและเป็น 0 ในปีที่กำหนดกล่าวคือ ประเทศสมาชิก 6 ประเทศ ในปี พ.ศ. 2553 และสมาชิกที่เหลืออีก 4 ประเทศคือ เวียตนาม พม่า ลาว และกัมพูชา ในปี พ.ศ. 2558 
          ความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศสมาชิก คือ การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่อกัน นั่นคือ 
การลดหย่อนภาษีขาเข้าจากภาษีนำเข้าปกติที่เคยเรียกเก็บ โดยกำหนดเวลาไว้สำหรับสมาชิกกลุ่มแรก 6 ประเทศ ในปี พ.ศ. 2553 ภาษีนำเข้าเป็น 0และในปี พ.ศ. 2558 สำหรับสมาชิกที่เหลืออีก 4 ประเทศ   ซึ่งนอกจากภาษีนำเข้าแล้ว ก็ได้มีการกำหนดให้มีการยกเลิกการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี นั่นคือ ในหมู่สมาชิกต้องไม่จำกัดการนำเข้าสินค้าและบริการระหว่างกัน และยังรวมถึงการกำหนดสัดส่วนการใช้วัตถุดิบของสินค้าที่ได้รับสิทธิจากการลดภาษีนั้นต้องมีสัดส่วนร้อยละ 40 ของการผลิตสินค้านั้นๆ
          จาก ASEAN สู่เขตการค้าเสรี AFTA ส่งผลกระทบต่อ SMEs ของไทย กล่าวคือ ในด้านภาษีนำเข้าระหว่างประเทศสมาชิก นั่นคือ ภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2553 และในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น ในการนำเข้าวัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จรูป ส่งผลให้มีความได้เปรียบด้านราคาและคุณภาพ  การเกิดฐานการผลิตร่วมกันนั่นคือ ประเทศสมาชิกสามารถย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศสมาชิกที่เหมาะเป็นแหล่งผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง วัตถุดิบนำเข้ามีราคาลดลง   สินค้าที่ผลิตจะเกิดการพัฒนาคุณภาพสินค้า ผู้บริโภคได้รับสินค้าดีมีคุณภาพ  ทำให้สินค้าด้อยคุณภาพจะขายไม่ได้ เป็นการสร้างการได้เปรียบในการแข่งขันโดยใช้จุดเด่นของแต่ละประเทศ  ไม่มีการกีดกันสินค้าทำให้ตลาดกว้างขึ้น การส่งออกง่ายขึ้น ตลาดใหญ่ขึ้นจากแต่ละประเทศ สู่กลุ่ม 10 ประเทศ ซึ่งประชากรรวมเกือบ 600 ล้านคน   เป็นการยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรอาเซียน GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.sme.go.th/Lists/EditorInput/DispF.aspx?List=15dca7fb-bf2e-464e-97e5-440321040570&ID=1601

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

EFTA เขตการค้าเสรียุโรป

สมาคมการค้าเสรียุโรป หรือ EFTA 

(European Free Trade Association) 

     จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2503 (ค.ศ.1960) โดย Stockholm Convention โดยมีจุดประสงค์หลัก คือ เปิดเสรีทางการค้า (แต่ไม่เป็น Customs Union) ประกอบด้วย สมาชิกที่เล็กแต่มั่งคั่ง 4 ประเทศ ได้แก่

  1. ไอซ์แลนด์
  2. สวิตเซอร์แลนด์
  3. นอร์เวย์
  4. และ ลิกเตนสไตน์ 

     มีประชากรรวมกันประมาณ 12.4 ล้านคน ปี 2550 (ค.ศ.2007)

EFTA มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศประมาณ 817 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวประมาณ 63,836 ดอลลาร์ สหรัฐฯ ต่อปีนับว่าสูงที่สุดในโลก
มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ1.9 จัดเป็นกลุ่มประเทศที่มีอำนาจซื้อสูง ซึ่ง World Economic Forum Global Competitiveness Report ปี 2551/2552 (ค.ศ.2008/2009) (WEF) ได้จัดให้ EFTA เป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพทางการแข่งขันทางเศรษฐกิจสูงอันดับที่ 13 ของโลก
     นอกจากนี้ EFTA มีความชำนาญในการผลิตอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
     เศรษฐกิจของ EFTA เป็นระบบเศรษฐกิจแบบเปิด โดยมีภาคบริการเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจ เช่น สาขาการเงิน สาขาประกันภัย และสาขาโทรคมนาคม เป็นต้น ทำให้ EFTA เป็นกลุ่มประเทศที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจต่อเวทีการค้าระหว่างประเทศ และเศรษฐกิจโลก
     EFTA มุ่งดำเนินความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศอื่นๆ ทั้งการค้าสินค้าและการค้าบริการซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
     EFTA ถูกจัดเป็นกลุ่มประเทศ ผู้ค้าสินค้าสำคัญอันดับที่ 11 ของโลก มีมูลค่า 564.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเป็นผู้นำด้านการค้าบริการอันดับที่ 5 ของโลก มีมูลค่า147 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองจากสหภาพยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และจีน ตามลำดับ

ข้อตกลงของ EFTA คือ
     1. การเคลื่อนย้ายสินค้าโดยเสรี  กำหนดให้เคลื่อนย้ายสินค้าโดยไม่มีการจัดเก็บ ภาษีนำเข้า/ส่งออก และโควต้าระหว่างสมาชิก
     2. การค้าบริการ ไม่มีการจำกัดสิทธิในการให้บริการระหว่างสมาชิก

การค้าระหว่างไทยกับ EFTA 
     ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 13 ของ EFTA การค้าไทย-EFTA มีมูลค่า 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 0.4 ของการค้าระหว่างประเทศของ EFTA ในขณะที่ EFTA เป็นคู่ค้าอันดับที่ 11 ของไทยการค้าสองฝ่ายไทย-EFTA มีมูลค่า 6,521.68 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศคู่ค้าหลักและรองลงมาได้แก่ นอร์เวย์ ลิกเตนสไตน์ และ ไอซ์แลนด์ตามลำดับ

สินค้าส่งออกสำคัญของ EFTA ได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำ อะลูมิเนียม เครื่องจักรเวชภัณฑ์ นาฬิกาอัญมณีและเหล็ก
สินค้านำเข้าสำคัญของ EFTA ได้แก่ เครื่องจักร นิเกิล เฟอร์นิเจอร์และเครื่องนอน เคมีภัณฑ์อินทรีย์ ยานยนต์เหล็ก และผลิตภัณฑ์พลาสติก

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaifta.com/thaifta/portals/0/FACTBOOK_EFTA.pdf

เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ NAFTA

     ความตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ North American Free Trade Agreement
    หรือเรียกคำย่อว่า นาฟตา (NAFTA) 
          เป็นองค์กรทางเศรษฐกิจในทวีปอเมริกาเหนือ ในการที่จะร่วมมือกันแสวงหาตลาดส่งออกและลดต้นทุนการผลิตสินค้า เพื่อให้มีราคาถูกลง สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้หลังจากที่สหภาพยุโรป ได้แก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยการเปิดตลาดเสรีเป็นตลาดเดียวแล้ว ผู้นำแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดาและเม็กซิโกได้จัดประชุมกันเมื่อ พ.ศ. 2535 ที่จะเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกันให้เป็นตลาดเดียว และจะลดอัตราภาษีศุลกากรให้เหลือร้อยละ 0 ภายใน 5 ปี โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2537 เป็นต้นไป

     NAFTA  นี้มีประชากรรวมทั้งสิ้นประมาณ 360 ล้านคน เป็นตลาดที่ค่อนข้างใหญ่กลุ่มหนึ่ง
ทั้ง 3 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโกได้มีการทำข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ 
เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534)

การค้าของประเทศไทยกับตลาด NAFTA
  NAFTA เป็นตลาดสำคัญของไทย ในปี พ.ศ. 2541 มีมูลค่าการค้าระหว่างกันคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของมูลค่าการค้ารวมของไทย โดยไทยส่งออกไป NAFTA ร้อยละ 24 ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทย และไทยนำเข้าจาก NAFTA ร้อยละ15 ของมูลค่าการนำเข้ารวมของไทย สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารทะเลกระป๋อง แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรไฟ และส่วนประกอบเครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ เครื่องบิน เรือ และอุปกรณ์การบิน เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นต้น
ผลกระทบการค้าของไทยกับ NAFTA  ดังนี้
(1.) ข้อตกลง NAFTA ทำให้เม็กซิโกมีความได้เปรียบไทยในการแข่งขันในตลาดสหรัฐ ซึ่งเป็นตลาดสำคัญของไทย ทั้งในด้านการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีและตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ประกอบกับมีต้นทุนการผลิตต่ำ เนื่องจากมีระยะทางใกล้ เป็นผลให้สินค้าไทยส่งไปแข่งขันในตลาดสหรัฐลดลง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่มีการยกเลิกภาษีหรือเสียภาษีในระดับต่ำ และสินค้าที่นักลงทุนอเมริกันไปลงทุนในเม็กซิโก                             
(2.) ข้อตกลง NAFTA มีสิ่งจูงใจให้นักลงทุนต่างประเทศ เข้าไปร่วมลงทุนในประเทศสมาชิก ซึ่งจะมีผลกระทบต่อไทย ในการช่วงชิงนักลงทุนจากต่างประเทศ และอาจจะส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปจำหน่ายในภูมิภาคอื่นด้วย   
ขอบคุณข้อมูลจากhttps://th.wikipedia.org/wiki/
http://eco-cooperation.exteen.com/20100216/entry

World Bank

ธนาคารโลก World Bank
 หรือเรียกว่า ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา International Bank for Reconstruction and Development; IBRD)

      เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ได้จัดตั้งขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยประเทศมหาอำนาจในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกได้ทำการฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมุ่งเน้นการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นองค์กรอยู่ในสังกัดขององค์การสหประชาชาติ มีสำนักงานใหญ่ตั้งที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 188 ประเทศ เงินทุนของธนาคารโลกได้มาจากการจำหน่ายพันธบัตรในตลาดการเงินสำคัญของโลก ค่าบำรุงจากประเทศสมาชิก และเงินค่าหุ้นของประเทศสมาชิก

     ธนาคารโลกประกอบด้วย 5  สถาบันได้แก่
  1. ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะฟื้นฟูและพัฒนา (IBRD)
  2. สมาพันธ์การพัฒนาระหว่างประเทศ  (IDA)
  3. บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (IFC)
  4. สถาบันประกันการลงทุนแบบพหุภาคี (MIGA)
  5. Center for the Settlement of Investment Disputes (ICSID)
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
     เริ่มแรก -- เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่สอง โดยให้สมาชิกกู้ยืมไปเพื่อบูรณะซ่อมแซมและพัฒนาประเทศ
      ต่อมาได้ขยายขอบเขตของการบริการออกไปเป็นการสนับสนุนการลงทุนเพื่อการพัฒนาและเพิ่มผลผลิตในประเทศที่กำลังพัฒนา เพื่อยกระดับชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศสมาชิก ตามลักษณะกิจการที่จะลงทุนและตามความจำเป็นและยังช่วยเหลือสมาชิกด้วยการให้บริการด้านความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนการลงทุนและบริหารการเงิน
     การจัดสรรเงินสำหรับประเทศกำลังพัฒนานั้นจะพิจารณาจากลำดับความจำเป็น ประเทศที่กู้เงินจาก IBRD ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับกลาง โดยมีรายได้ต่อหัวต่อคนน้อยกว่า 5,185 เหรียญสหรัฐต่อปี  ซึ่งร้อยละ 75 ของประชากรที่ยากจนที่สุดในโลกอาศัยอยู่ในประเทศเหล่านี้  และดำรงชีพด้วยเงินน้อยกว่า 1 เหรียญสหรัฐต่อวัน แต่เดิมประเทศเหล่านี้จะสามารถกู้ได้แต่เฉพาะจากตลาดเอกชนด้วยอัตราที่สูง IBRD จึงเสนอการให้กู้ในเงื่อนไขที่ดีกว่าและระยะการชำระเงินคืนที่นานกว่า
     ขอบคุณข้อมูลจาก http://web.worldbank.org/WBSITE/EXTERNAL/COUNTRIES/EASTASIAPACIFICEXT/THAILANDINTHAIEXTN/0,,contentMDK:20288301~menuPK:486704~pagePK:1497618~piPK:217854~theSitePK:486697,00.html
     https://th.wikipedia.org/wiki/ 

IMF กองทุนการเงินระหว่างประเทศ

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
IMF ่:International Monetary fund
      ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2487   โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา และและมีฐานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ โดยมีข้อบังคับว่าประเทศที่จะเป็นสมาชิกธนาคารโลก และจะต้องเป็นสมาชิกของ IMF ด้วย ประเทศที่สมัครเป็นสมาชิกกองทุนการเงินฯ จะต้องเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติอยู่ก่อนแล้ว ในปัจจุบันมีสมาชิก 188 ประเทศ (South Sudan เป็นสมาชิกอันดับที่ 188 เข้าร่วมเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 2012)



     หน้าที่ของ IMF 

  1.  ทำหน้าที่สนับสนุนความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ 
  2.  สนับสนุนการค้าระหว่างประเทศให้ขยายตัวอย่างสมดุล
  3.  เสริมสร้างเสถียรภาพในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
  4.  สนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ
  5.  และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงิน

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 44 ของกองทุนการเงินฯ  เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2492  โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นตัวแทนของประเทศไทยในกองทุนการเงินฯ ตามพ.ร.บ. ให้อำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกับกองทุนการเงินและธนาคารระหว่างประเทศ พ.ศ. 2494   รวมทั้งผู้ว่าการและรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่เป็นผู้ว่าการและผู้ว่าการสำรองในกองทุนการเงินฯ ตามลำดับ
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/RolesAndHistory/Pages/IMF.aspx
https://th.wikipedia.org/wiki/ 

เขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ

สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ เป็นชื่อโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทย  พม่า  ลาว  และจีน  ริเริ่มโดยภาคเอกชนของทั้ง  ๔  ประเทศ  เพื่อร่วมมือกันทางด้านการค้าการท่องเที่ยว  และคมนาคม  สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจครอบคลุมอาณาบริเวณของ ๔ ประเทศ ได้แก่  ตอนเหนือของไทย  พม่าและลาว  กับตอนใต้ของจีน  ซึ่งได้แก่ส่วนหนึ่งของมณฑลยูนนาน
สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ยุทธศาสตร์  ๕  เชียง”  อันหมายถึง  เชียงใหม่ - เชียงราย - เชียงตุง - เชียงรุ่ง - เชียงทอง  เชียงตุงอยู่ในพม่า  เชียงรุ่งหรือเชียงรุ้ง เป็นชื่อเมืองในเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา  มณฑลยูนนาน  ส่วนเชียงทองก็คือหลวงพระบาง  เมืองหลวงเก่าของลาว
 สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ เริ่มขึ้นตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1993 (พ.ศ. 2536) เป็นโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่าง 4 ประเทศ
ประเทศสมาชิก
    (1) จีน (China)
    (2) พม่า (Myanmar)
    (3) ลาว (Laos)
    (4) ไทย (Thailand)
    ที่มีแนวชายแดนติดต่อกันบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในแนวที่มีแม่น้ำโขงไหลผ่าน ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และเพิ่มอำนาจการเจรจาต่อรองทางการค้า
   โดยพื้นที่เป้าหมายของโครงการ คือ
    1. จังหวัดเชียงรายของไทย
    2. เมืองเชียงตุงของพม่า
    3. แคว้นสิบสองปันนาในมณฑลยูนนานของจีน
    4. เมืองหลวงน้ำทา ของลาว
    แผนพัฒนาร่วมกันที่สำคัญของทั้ง 4 ประเทศ คือ โครงการ
    1. การพัฒนาระบบคมนาคม
    2. การพลังงาน
    3. การสื่อสาร
    4. การท่องเที่ยว
    โครงการในกลุ่มสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจจะได้รับความสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารพัฒนาเอเชียหรือ ADB กองทุนพัฒนาอินโดจีนของประเทศญี่ปุ่น และเงินทุนรัฐบาลของแต่ละประเทศ
    โครงการในกลุ่มสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ จะเน้นให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมเป็นอันดับแรก เนื่องจากทำให้การเคลื่อนย้ายสินค้าบริการ และประชาชนเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วและประหยัด ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมการค้าและการลงทุนในอนุภูมิภาคสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ
    ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 (พ.ศ. 2536) เป็นต้นมา ปริมาณและมูลค่าการค้าขายแดนของกลุ่มสี่เหลี่ยมเศณษฐกิจ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีปัจจัยสำคัญ เช่น
    - การที่พม่าเปิดให้เมืองเชียงตุงเป็นเมืองท่องเที่ยว โครงการปรับปรุงถนนสายท่าขี้เหล็กเชียงตุง ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมไทยกับพม่า
    - โครงการเดินเรือจากเมืองเชียงรุ่งของจีน มายังเชียงรายที่ต้องผ่านพม่าและลาว ซึ่งให้ประโยชน์มากในการขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยว
    จะเห็นได้ว่า สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคที่สำคัญ ซึ่งแต่ละประเทศต้องร่วมพัฒนากันอย่างจริงจังเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
          ส่วน สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ นั้นเป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจของ  ๓  ประเทศ อยู่ในบริเวณภาคใต้ของไทย  ตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซีย และภาคเหนือของเกาะสุมาตรา  อินโดนีเซีย
ขอบคุณข้อมูลจาก
 http://guru.sanook.com/11977/
 
http://eco-cooperation.exteen.com/20100213/entry-1

EU

EU
สหภาพยุโรป : European Union 
เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2494 และ 2501 ตามลำดับ 
การสถาปนาสหภาพยุโรป เกิดขึ้นภายใต้สนธิสัญญามาสทริชท์ เมื่อ  พ.ศ. 2536 
สนธิสัญญาลิสบอน ทำขึ้นเพื่อแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญของสหภาพยุโรป  พ.ศ. 2552
สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบองค์การอิสระเหนือชาติและการตัดสินใจที่เจรจาระหว่างรัฐบาลโดยรัฐสมาชิก สถาบันสำคัญของสหภาพยุโรปมีคณะกรรมาธิการยุโรป คณะมนตรีสหภาพยุโรป สภายุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป และธนาคารกลางยุโรป พลเมืองสหภาพยุโรปเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภายุโรปทุกห้าปี
สหภาพยุโรปได้พัฒนาตลาดเดี่ยวผ่านระบบกฎหมายที่เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกรัฐ ในพื้นที่เชงเกิน (รวม 22 รัฐสหภาพยุโรป และ 4 รัฐนอกสหภาพยุโรป) มีการยกเลิกการควบคุมหนังสือเดินทาง นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรี ตรากฎหมายในกิจการยุติธรรมและมหาดไทย และคงไว้ซึ่งนโยบายการค้า เกษตรกรรม การประมงและการพัฒนาภูมิภาคร่วมกัน
ยูโรโซน ซึ่งเป็นสหภาพการเงิน ได้รับการจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2542 และประกอบด้วยรัฐสมาชิก 17 ประเทศ สหภาพยุโรปได้พัฒนาบทบาทในความสัมพันธ์ภายนอกและการป้องกันผ่านนโยบายการต่างประเทศและความมั่นคงร่วม มีการสถาปนาคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลก มีผู้แทนของสหภาพยุโรปที่สหประชาชาติ องค์การการค้าโลก จี 8 และจี 20
โดยมีประชากรรวมกันกว่า 500 ล้านคน หรือ 7.3% ของประชากรโลก 
ใน พ.ศ. 2554 สหภาพยุโรปมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในรูปตัวเงินใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 17.6 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็นประมาณ 20% ของจีดีพีโลก เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ
สหภาพยุโรปประกอบไปด้วยรัฐอิสระ 28 ประเทศ เป็นที่รู้จักกันในสถานะรัฐสมาชิก ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม บัลแกเรีย โครเอเชีย ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศสเยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลัตเวีย ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร
สินค้าออกสำคัญ   เครื่องจักร ยานยนต์ เครื่องบิน พลาสติก ยาและเวชภัณฑ์ เชื้อเพลิง เหล็กและเหล็กกล้า โลหะ เยื่อไม้และกระดาษ สิ่งทอ
ความสัมพันธ์ไทย-อียู        ไทยกับสหภาพยุโรปมีความสัมพันธ์ที่ดีและราบรื่นในทุก ๆ ด้าน ไทยมองว่าสหภาพยุโรปสำคัญมากในเวทีระหว่างประเทศ เนื่องจากมีบทบาทในการสร้างกระแสและทิศทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมระดับโลก เป็น 1 ใน 3 ศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก เป็น“Economic Heavyweight” ที่มี GDP ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นตลาดสินค้าและบริการ ตลาดการเงิน และแหล่งที่มาของการลงทุนที่สำคัญที่สุด มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง  และเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด รวมทั้งมีบรรษัทข้ามชาติระดับโลกเป็นจำนวนมากที่สุด
สหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของไทย รองจากอาเซียน และญี่ปุ่น ตามลำดับ
ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปได้เข้ามาลงทุนในไทยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีความชำนาญ ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมยาและเคมี และการขนส่งสินค้าทางทะเล
ไทยกับสหภาพยุโรปยังมีปัญหาการค้าหลายประเด็น เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบนำเข้าข้าวของสหภาพยุโรป ปัญหาการขยายมาตรการต่อต้านการทุ่มตลาดและการต่อต้านการอุดหนุน (AD/CVD) ไปยังประเทศสมาชิกใหม่ 10 ประเทศ ปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทย
 ขอบคุณข้อมูลจากhttps://th.wikipedia.org/wiki/
http://guru.sanook.com/4087/

WTO

WTO
องค์การการค้าโลก : World Trade Organization  

เป็นองค์การนานาชาติสังกัดองค์การสหประชาชาติ (UN) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงทางด้านการค้าระหว่างชาติ เป็นเวทีสำหรับการเจรจาต่อรอง ตกลงและขจัดข้อขัดแย้งในเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางการค้าและการบริการระหว่างประเทศสมาชิก
องค์การการค้าโลกจัดตั้งขึ้นแทนความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันมีสมาชิก 161 ประเทศ ไทยเข้าเป็นสมาชิก WTO เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2538 เป็นสมาชิกลำดับที่ 59 มีสถานะเป็นสมาชิกก่อตั้ง 
วัตถุประสงค์ WTO
 WTO มีการเจรจาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไป  ตามความพร้อมของประเทศสมาชิก และระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิก กฎกติกาต่างๆ ของ WTO ได้กำหนดให้มีการปฏิบัติอย่างเป็นพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้สามารถเข้าร่วมในระบบการค้าพหุภาคีได้ WTO จึงเป็นองค์กรที่ไม่หยุดนิ่ง จะมีการเจรจาเพื่อพัฒนาและสร้างกฎกติกาใหม่ๆ เพื่อให้สามารถรองรับกับวิวัฒนาการของการค้าระหว่างประเทศและรูปแบบการค้าโลกที่เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง
          การเป็นสมาชิกของ WTO ทำให้ประเทศสมาชิกมีสิทธิและพันธกรณี ที่จะต้องปฏิบัติตามภายใต้ความตกลงต่างๆ ของ WTO กฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศของ WTO นอกจากช่วยส่งเสริมให้การแข่งขันทางการค้าเป็นธรรมแล้ว ยังสร้างความมั่นใจให้แก่ทั้ง ผู้ค้าและผู้ลงทุน ผู้ผลิตและส่งออกสามารถคาดการณ์และวางแผนการค้าระหว่างประเทศล่วงหน้าได้
หน้าที่ของ WTO
          1. บริหารความตกลงและบันทึกความเข้าใจที่เป็นผลจากการเจรจาในกรอบของ GATT/WTO รวม 28 ฉบับ โดยผ่านคณะมนตรี (Council) และคณะกรรมการ (Committee) ต่างๆ ตลอดจนดูแลให้มีการปฏิบัติตามพันธกรณี
          2. เป็นเวทีเพื่อเจรจาลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างสมาชิกทั้งในรูปของมาตรการภาษีศุลกากรและมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร
          3. เป็นเวทีสำหรับแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างสมาชิก และหากไม่สามารถตกลงกันได้ก็จะมีการจัดตั้งคณะผู้พิจารณา (Panel) ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้ข้อเสนอแนะ รวมทั้งมีกลไกยุติข้อพิพาทด้วย
          4. ติดตามสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศและจัดให้มีการทบทวนนโยบาย การค้าของสมาชิกอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นการตรวจสอบให้เป็นไปในแนวทางการค้าเสรี
          5. ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านข้อมูล ข้อแนะนำเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีได้อย่างเพียงพอตลอดจนทำการศึกษาประเด็นการค้าที่สำคัญๆ
          6. ประสานงานกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลกเพื่อให้นโยบายเศรษฐกิจโลกสอดคล้องกันยิ่งขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://guru.sanook.com/4056/
https://th.wikipedia.org/wiki/

OPEC

กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก

OPEC  : Organization of Petroleum Exporting Countries

มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 11 ประเทศ ได้แก่ อิรัก อิหร่าน คูเวต ซาอุดิอาระเบีย เวเนซูเอลา กาตาร์ อินโดนีเซีย ลิเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตซ์ แอลจีเรีย ไนจีเรีย

ประวัติการก่อตั้ง ::: โอเปค จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือน มกราคม พ.ศ.2503 โดยประเทศอิหร่าน อิรัก คูเวต ซาอุดิอาระเบีย และเวเนซุเอลา ต่อมามีสมาชิกเพิ่มอีก 8 ประเทศ ได้แก่  กาตาร์  อินโดนีเซีย ลิเบีย  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์  แอลจีเรีย  ไนจีเรีย  เอกวาดอร์  และกาบอง รวมมีสมาชิก 13 ประเทศ ต่อมาเอกวาดอร์ลาออก เมื่อ พ.ศ.2535 และกาบองลาออก  เมื่อ พ.ศ.2538 ปัจจุบัน  จึงเหลือสมาชิกเพียง 11 ประเทศ  โอเปคเดิมมีสำนักงานใหญ่ อยู่มีนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์  ต่อมา พ.ศ.2508 ได้ย้ายไปอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง ::::  ในระยะเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่มโอเปค  การขุดเจาะน้ำมันในประเทศสมาชิกต่างเป็นการลงทุนและดำเนินการโดยบริษัทน้ำมันต่างชาติ ประเทศเจ้าของบ่อน้ำมันได้รับค่าภาคหลวงตอบแทน ซึ่งเป็นผลประโยชน์ส่วนน้อย การร่วมมือของกลุ่มโอเปคในช่วงนี้ จึงมีจุดมุ่งหมายสำคัญ 3 ประการ คือ

1. เพื่อเจรจากับบริษัทน้ำมันผู้ได้รับสัมปทานในการตั้งกองทุนน้ำมันดับให้เท่ากันทุกประเทศ

2. เพื่อนำราคาน้ำมันดิบที่เป็นผลมาจากการเจรจาใช้เป็นฐานในการคำนวณเป็นรายได้ของรประเทศ

3. เพื่อเป็นอำนาจต่อรองในการยึดครองหรือโอนกิจการน้ำมันเป็นของรัฐต่อไป

                   กลุ่มโอเปคได้ดำเนินงานไปตามวัตถุประสงค์จนได้ผลเป็นที่น่าพอใจและต่อมาเมื่อมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 8 ประเทศ ทำให้มีอำนาจต่อรองมากขึ้นและขยายวัตถุประสงค์เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกมากขึ้นคือ

1. เพื่อปกป้องราคาน้ำมันตกต่ำและเจรจาขายน้ำมันดับในเงือนไขที่ดี

2. เพื่อเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทน้ำมันผู้ผลิตน้ำมันในอัตราที่สูงขึ้น

3. เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการประกาศเพิ่มราคาน้ำมัน

ผลการปฏิบัติงาน :::: ในปัจจุบันโอเปคเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีอิทธิพลสูงมากทั้งต่อระบบเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ เพราะมนุษย์จำเป็นต้องใช้พลังงานที่มาจากน้ำมัน แต่ด้วยเหตุที่ประเทศสมาชิกของกลุ่มโอเปคมีสภาพเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมวัฒนธรรมแตกต่างกัน ทั้งยังมีปริมาณน้ำมันสำรองไม่เท่ากันด้วย การกำหนดราคาและโควตาการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปคในระยะหลังมานี้ มักไม่มีเอกภาพ กล่าวคือประเทศคูเวค กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต่างเป็นประเทศที่มีปริมาณน้ำมันสำรองอยู่มาก และมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สามารถปฏิบัติตามมติของโอเปคได้ แต่ประเทศอิหร่านแม้มีปริมาณน้ำมันสำรองอยู่มาก แต่หลังสงครามกับอิรักแล้วต้องลอบผลิตน้ำมันออกจำหน่ายเกินโควตาที่โอเปคให้ไว้ เพื่อนำเงินมาฟื้นฟูบูรณะประทศ

                   ประเทศอิรัก มีแหล่งน้ำมันสำรองมากประเทศหนึ่ง แต่ได้รับความเสียหายจากสงครามกับอิหร่านและพ่ายแพ้สงครามในการปิดล้อมคูเวต ซึ่งสหประชาชาติได้ออกมาตรการต่างๆ มากำหนด ทำให้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันได้อย่างจำกัด ส่วนประเทศไนจีเรียมีปริมาณน้ำมันสำรองน้อย เป็นประเทศยากจน และมีจำนวนประชากรมาก จึงต้องผลิตน้ำมันเกิดโควตาและจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่าที่โอเปคกำหนด

                   นอกจากนี้ สมาชิกของกลุ่มโอเปคยังได้จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศอาหรับที่มิได้เป็นสมาชิกของโอเปค และประเทศอื่นที่ประชากรบางส่วนนับถือศาสนาอิสลาม

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก

             ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศโอเปค ส่วนใหญ่เป็นการติดต่อค้าขายน้ำมันและด้านแรงงานที่ไทยส่งไปยังประเทศเหล่านี้ ส่วนการติดต่อกันในด้านอื่นๆ นับว่ามีน้อยมาก พอสรุปได้ดังนี้

             1. ทางด้านการค้า ไทยยังมีการค้าขายกับกลุ่มโอเปค โดยการนำเข้าน้ำมันดิบจากประเทศเหล่านี้ โดยเฉพาะประเทศโอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซาอุดิอาระเบีย และสินค้าออกที่สำคัญของไทยที่ส่งไปยังกลุ่มโอเปค ได้แก่ ข้าวโพด ข้าว เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และเครื่องหนัง

            2. ทางด้านแรงงาน เป็นเรื่องที่สำคัญและน่าสนใจ เพราะไทยได้จัดส่งแรงงานเข้าไปทำงานในประเทศกลุ่มโอเปคเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นที่ทางรัฐบาลไทยต้องติดตามและให้ความคุ้มครองช่วยเหลือ ประเทศกลุ่มโอเปคที่คนงานไทยไปทำงานมากในปัจจุบัน คือ ลิเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และคูเวต ทางด้านประเทศอิรัก ซึ่งเคยมีคนงานไทยไปทำงานกันมาก แต่หลังสงครามอ่าวเปอร์เซียแล้วมีจำนวนคนงานไทยลดลง

            3. ด้านการเมือง เป็นความสัมพันธ์ทางด้านการทูตและการเยี่ยมเยือนเพื่อกระชับความสัมพันธไมตรีของผู้นำประเทศ

            4. อื่นๆ กลุ่มโอเปคได้ให้ความช่วยเหลือในเรื่องเงินกู้ ส่วนไทยก็ได้ให้ความสะดวกแก่ประเทศเหล่านี้โดยการให้นักวิชาการมาศึกษาดูงานในไทย โดยเฉพาะทางด้านการเกษตร



ขอบคุณภาพจาก youtube.com