วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ

สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ เป็นชื่อโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทย  พม่า  ลาว  และจีน  ริเริ่มโดยภาคเอกชนของทั้ง  ๔  ประเทศ  เพื่อร่วมมือกันทางด้านการค้าการท่องเที่ยว  และคมนาคม  สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจครอบคลุมอาณาบริเวณของ ๔ ประเทศ ได้แก่  ตอนเหนือของไทย  พม่าและลาว  กับตอนใต้ของจีน  ซึ่งได้แก่ส่วนหนึ่งของมณฑลยูนนาน
สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ยุทธศาสตร์  ๕  เชียง”  อันหมายถึง  เชียงใหม่ - เชียงราย - เชียงตุง - เชียงรุ่ง - เชียงทอง  เชียงตุงอยู่ในพม่า  เชียงรุ่งหรือเชียงรุ้ง เป็นชื่อเมืองในเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา  มณฑลยูนนาน  ส่วนเชียงทองก็คือหลวงพระบาง  เมืองหลวงเก่าของลาว
 สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ เริ่มขึ้นตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1993 (พ.ศ. 2536) เป็นโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่าง 4 ประเทศ
ประเทศสมาชิก
    (1) จีน (China)
    (2) พม่า (Myanmar)
    (3) ลาว (Laos)
    (4) ไทย (Thailand)
    ที่มีแนวชายแดนติดต่อกันบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในแนวที่มีแม่น้ำโขงไหลผ่าน ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และเพิ่มอำนาจการเจรจาต่อรองทางการค้า
   โดยพื้นที่เป้าหมายของโครงการ คือ
    1. จังหวัดเชียงรายของไทย
    2. เมืองเชียงตุงของพม่า
    3. แคว้นสิบสองปันนาในมณฑลยูนนานของจีน
    4. เมืองหลวงน้ำทา ของลาว
    แผนพัฒนาร่วมกันที่สำคัญของทั้ง 4 ประเทศ คือ โครงการ
    1. การพัฒนาระบบคมนาคม
    2. การพลังงาน
    3. การสื่อสาร
    4. การท่องเที่ยว
    โครงการในกลุ่มสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจจะได้รับความสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารพัฒนาเอเชียหรือ ADB กองทุนพัฒนาอินโดจีนของประเทศญี่ปุ่น และเงินทุนรัฐบาลของแต่ละประเทศ
    โครงการในกลุ่มสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ จะเน้นให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมเป็นอันดับแรก เนื่องจากทำให้การเคลื่อนย้ายสินค้าบริการ และประชาชนเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วและประหยัด ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมการค้าและการลงทุนในอนุภูมิภาคสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ
    ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 (พ.ศ. 2536) เป็นต้นมา ปริมาณและมูลค่าการค้าขายแดนของกลุ่มสี่เหลี่ยมเศณษฐกิจ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีปัจจัยสำคัญ เช่น
    - การที่พม่าเปิดให้เมืองเชียงตุงเป็นเมืองท่องเที่ยว โครงการปรับปรุงถนนสายท่าขี้เหล็กเชียงตุง ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมไทยกับพม่า
    - โครงการเดินเรือจากเมืองเชียงรุ่งของจีน มายังเชียงรายที่ต้องผ่านพม่าและลาว ซึ่งให้ประโยชน์มากในการขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยว
    จะเห็นได้ว่า สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคที่สำคัญ ซึ่งแต่ละประเทศต้องร่วมพัฒนากันอย่างจริงจังเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
          ส่วน สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ นั้นเป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจของ  ๓  ประเทศ อยู่ในบริเวณภาคใต้ของไทย  ตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซีย และภาคเหนือของเกาะสุมาตรา  อินโดนีเซีย
ขอบคุณข้อมูลจาก
 http://guru.sanook.com/11977/
 
http://eco-cooperation.exteen.com/20100213/entry-1

7 ความคิดเห็น: