IMF ่:International Monetary fund
ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2487 โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา และและมีฐานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ โดยมีข้อบังคับว่าประเทศที่จะเป็นสมาชิกธนาคารโลก และจะต้องเป็นสมาชิกของ IMF ด้วย ประเทศที่สมัครเป็นสมาชิกกองทุนการเงินฯ จะต้องเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติอยู่ก่อนแล้ว ในปัจจุบันมีสมาชิก 188 ประเทศ (South Sudan เป็นสมาชิกอันดับที่ 188 เข้าร่วมเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 2012)
หน้าที่ของ IMF
- ทำหน้าที่สนับสนุนความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ
- สนับสนุนการค้าระหว่างประเทศให้ขยายตัวอย่างสมดุล
- เสริมสร้างเสถียรภาพในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
- สนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ
- และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงิน
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 44 ของกองทุนการเงินฯ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2492 โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นตัวแทนของประเทศไทยในกองทุนการเงินฯ ตามพ.ร.บ. ให้อำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกับกองทุนการเงินและธนาคารระหว่างประเทศ พ.ศ. 2494 รวมทั้งผู้ว่าการและรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่เป็นผู้ว่าการและผู้ว่าการสำรองในกองทุนการเงินฯ ตามลำดับ
ขอบคุณข้อมูลจาก
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/RolesAndHistory/Pages/IMF.aspx
https://th.wikipedia.org/wiki/
https://th.wikipedia.org/wiki/
อภิรัญญา ศรีสวัสดิ์ >>
ตอบลบการที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกIMF มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้างค่ะ
ข้อดีคือ เป็นแหล่งเงินกู้ให้กับประเทศ ยามจำเป็นที่ต้องแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศค่ะ
ตอบลบข้อเสีย ก็ประชาชนทุกคนก็เป็นหนี้ล่ะค่ะ
อารีรัตน์ แสนแก้ว.IFMเกี่ยวข้องกับธนาคารโลกยังไงคะ?
ตอบลบไอเอ็มเอฟเป็นกองทุนให้กู้ยืม คือให้ประเทศสมาชิกมีสิทธิ์กู้ยืมเงินไปพัฒนาประเทศ ความเกี่ยวข้องกันคงมีน้อย แต่ไอเอ็มเอฟ กับ ธนาคารโลก ก็มีบทบาทคล้ายกันคือ การให้ความช่วยเหลือเรื่องเงินแก่ประเทศสมาชิกค่ะ
ลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ลบการเป็นสมาชิกของIMF มีผลดีที่จะตามมาคืออะไรบ้างคะ
ตอบลบนางสาว ช่อผกา ปลัดศรีช่วย เลขที่21ม.6/1
อ่านคำตอบของคำถามของ น.ส.ยอแสง นะคะ
ตอบลบจุดเด่นจุดด้อยของ IMF มีอะไรบ้างค่ะ
ตอบลบ