EU
สหภาพยุโรป : European Union
เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2494 และ 2501 ตามลำดับ
การสถาปนาสหภาพยุโรป เกิดขึ้นภายใต้สนธิสัญญามาสทริชท์ เมื่อ พ.ศ. 2536
สนธิสัญญาลิสบอน ทำขึ้นเพื่อแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญของสหภาพยุโรป พ.ศ. 2552
สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบองค์การอิสระเหนือชาติและการตัดสินใจที่เจรจาระหว่างรัฐบาลโดยรัฐสมาชิก สถาบันสำคัญของสหภาพยุโรปมีคณะกรรมาธิการยุโรป คณะมนตรีสหภาพยุโรป สภายุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป และธนาคารกลางยุโรป พลเมืองสหภาพยุโรปเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภายุโรปทุกห้าปี
สหภาพยุโรปได้พัฒนาตลาดเดี่ยวผ่านระบบกฎหมายที่เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกรัฐ ในพื้นที่เชงเกิน (รวม 22 รัฐสหภาพยุโรป และ 4 รัฐนอกสหภาพยุโรป) มีการยกเลิกการควบคุมหนังสือเดินทาง นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรี ตรากฎหมายในกิจการยุติธรรมและมหาดไทย และคงไว้ซึ่งนโยบายการค้า เกษตรกรรม การประมงและการพัฒนาภูมิภาคร่วมกัน
ยูโรโซน ซึ่งเป็นสหภาพการเงิน ได้รับการจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2542 และประกอบด้วยรัฐสมาชิก 17 ประเทศ สหภาพยุโรปได้พัฒนาบทบาทในความสัมพันธ์ภายนอกและการป้องกันผ่านนโยบายการต่างประเทศและความมั่นคงร่วม มีการสถาปนาคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลก มีผู้แทนของสหภาพยุโรปที่สหประชาชาติ องค์การการค้าโลก จี 8 และจี 20
โดยมีประชากรรวมกันกว่า 500 ล้านคน หรือ 7.3% ของประชากรโลก
ใน พ.ศ. 2554 สหภาพยุโรปมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในรูปตัวเงินใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 17.6 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็นประมาณ 20% ของจีดีพีโลก เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ
สหภาพยุโรปประกอบไปด้วยรัฐอิสระ 28 ประเทศ เป็นที่รู้จักกันในสถานะรัฐสมาชิก ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม บัลแกเรีย โครเอเชีย ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศสเยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลัตเวีย ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร
สินค้าออกสำคัญ เครื่องจักร ยานยนต์ เครื่องบิน พลาสติก ยาและเวชภัณฑ์ เชื้อเพลิง เหล็กและเหล็กกล้า โลหะ เยื่อไม้และกระดาษ สิ่งทอ
ความสัมพันธ์ไทย-อียู ไทยกับสหภาพยุโรปมีความสัมพันธ์ที่ดีและราบรื่นในทุก ๆ ด้าน ไทยมองว่าสหภาพยุโรปสำคัญมากในเวทีระหว่างประเทศ เนื่องจากมีบทบาทในการสร้างกระแสและทิศทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมระดับโลก เป็น 1 ใน 3 ศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก เป็น“Economic Heavyweight” ที่มี GDP ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นตลาดสินค้าและบริการ ตลาดการเงิน และแหล่งที่มาของการลงทุนที่สำคัญที่สุด มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง และเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด รวมทั้งมีบรรษัทข้ามชาติระดับโลกเป็นจำนวนมากที่สุด
สหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของไทย รองจากอาเซียน และญี่ปุ่น ตามลำดับ
ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปได้เข้ามาลงทุนในไทยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีความชำนาญ ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมยาและเคมี และการขนส่งสินค้าทางทะเล
ไทยกับสหภาพยุโรปยังมีปัญหาการค้าหลายประเด็น เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบนำเข้าข้าวของสหภาพยุโรป ปัญหาการขยายมาตรการต่อต้านการทุ่มตลาดและการต่อต้านการอุดหนุน (AD/CVD) ไปยังประเทศสมาชิกใหม่ 10 ประเทศ ปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทย
ขอบคุณข้อมูลจากhttps://th.wikipedia.org/wiki/
http://guru.sanook.com/4087/
http://guru.sanook.com/4087/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น