หรือเรียกคำย่อว่า นาฟตา (NAFTA)
เป็นองค์กรทางเศรษฐกิจในทวีปอเมริกาเหนือ ในการที่จะร่วมมือกันแสวงหาตลาดส่งออกและลดต้นทุนการผลิตสินค้า เพื่อให้มีราคาถูกลง สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้หลังจากที่สหภาพยุโรป ได้แก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยการเปิดตลาดเสรีเป็นตลาดเดียวแล้ว ผู้นำแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดาและเม็กซิโกได้จัดประชุมกันเมื่อ พ.ศ. 2535 ที่จะเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกันให้เป็นตลาดเดียว และจะลดอัตราภาษีศุลกากรให้เหลือร้อยละ 0 ภายใน 5 ปี โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2537 เป็นต้นไป
NAFTA นี้มีประชากรรวมทั้งสิ้นประมาณ 360 ล้านคน เป็นตลาดที่ค่อนข้างใหญ่กลุ่มหนึ่ง
ทั้ง 3 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโกได้มีการทำข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ
เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534)
การค้าของประเทศไทยกับตลาด NAFTA
NAFTA เป็นตลาดสำคัญของไทย ในปี พ.ศ. 2541 มีมูลค่าการค้าระหว่างกันคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของมูลค่าการค้ารวมของไทย โดยไทยส่งออกไป NAFTA ร้อยละ 24 ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทย และไทยนำเข้าจาก NAFTA ร้อยละ15 ของมูลค่าการนำเข้ารวมของไทย สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารทะเลกระป๋อง แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรไฟ และส่วนประกอบเครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ เครื่องบิน เรือ และอุปกรณ์การบิน เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นต้น
ผลกระทบการค้าของไทยกับ NAFTA ดังนี้
(1.) ข้อตกลง NAFTA ทำให้เม็กซิโกมีความได้เปรียบไทยในการแข่งขันในตลาดสหรัฐ ซึ่งเป็นตลาดสำคัญของไทย ทั้งในด้านการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีและตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ประกอบกับมีต้นทุนการผลิตต่ำ เนื่องจากมีระยะทางใกล้ เป็นผลให้สินค้าไทยส่งไปแข่งขันในตลาดสหรัฐลดลง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่มีการยกเลิกภาษีหรือเสียภาษีในระดับต่ำ และสินค้าที่นักลงทุนอเมริกันไปลงทุนในเม็กซิโก
(2.) ข้อตกลง NAFTA มีสิ่งจูงใจให้นักลงทุนต่างประเทศ เข้าไปร่วมลงทุนในประเทศสมาชิก ซึ่งจะมีผลกระทบต่อไทย ในการช่วงชิงนักลงทุนจากต่างประเทศ และอาจจะส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปจำหน่ายในภูมิภาคอื่นด้วย
ขอบคุณข้อมูลจากhttps://th.wikipedia.org/wiki/
http://eco-cooperation.exteen.com/20100216/entry
http://eco-cooperation.exteen.com/20100216/entry
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น